
นครปฐม-แหล่งเรียนรู้ศิลปะกับธรรมชาติบ้านครูโกะ ร่วมกับบ้านสวนสตูดิโอบางเลน พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร มูลนิธิเพื่อพิพิธภัณฑ์ไทย จัดกิจกรรมสืบสานลานศิลป์ ในวันที่ 23-25 ธันวาคม 2565
เมื่อวันที่ 24ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ณ. ลานกิจกรรมบ้านสวนสตูดิโอบางเลน แหล่งเรียนรู้ศิลปะกับธรรมชาติบ้านครูโกะ ร่วมกับ บ้านสวนสตูดิโอบางเลน พิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร มูลนิธิเพื่อพิพิธภัณฑ์ไทย จัดกิจกรรมสืบสานลานศิลป์โดยมี อาจารย์ปิยะนุช ศกุลตนาค ประธานสมาคมแม่บ้านทหารบกสาขากองทัพภาคที่4 รองประธานพิพิธภัณฑ์ของจิ๋วสัญจร เป็นประธานกล่าวเปิดงานและเปิดกิจกรรม สืบสานงานศิลป์ พร้อมด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางเลน และ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชนร่วมงานกันอย่างคับคั่ง
แหล่งเรียนรู้ศิลปะกับธรรมชาติบ้านครูโกะ จัดกิจกรรมสืบสานศิลป์ วัตถุประสงค์เพื่อเป็นบทเรียน“ทักษะชีวิต” เป็นอีกหนึ่งทักษะที่มีความจำเป็นกับวัยรุ่นในศตววรรษที่ 21 เพราะนอกจากวัยรุ่นจะต้องเป็นผู้มีความรู้แล้ว วัยรุ่นยังต้องเป็นผู้มีทัศนคติและจิตใจที่มั่นคง เพื่อพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา เยาวชน ประชาชนทั่วไป เพิ่มทักษะชีวิต ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์ การยับยั้งชั่งใจ พัฒนาการทำงานของสมองอย่างมีระบบ ทางแหล่งเรียนรู้ฯจึงจัดพื้นที่ให้แสดงออกรอบด้านทั้ง ร้อง เล่น เต้น วาด จัดให้มีนิทรรศการงานศิลปะหลากหลายแขนง
เพื่อสร้างความสุนทรีทางใจเกิดจิตสำนึกแง่บวก มีกิจกรรมศิลปะประดิษฐ์ เพราะการลงมือทำเป็นการจดจำที่ดีที่สุด ฝึกการคิดและแก้ปัญหาด้วยตัวเอง พัฒนาชิ้นงานเล็ก ๆ สู่รูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าจากมุมมองใหม่ๆในอนาคต และยังเป็นการบริการวิชาการ งานด้านทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ข้าราชการ พนักงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและเอกชน และ ประชาชนบุคคลทั่วไป ซึ่งกิจกรรมในงานประกอบด้วย การแสดงวาดภาพจากศิลปิน การแสดงบนเวที การประมูลงานศิลปะ การจำหน่ายสินค้าชุมชน การจัดนิทรรศการแบบมีชีวิต การประดิษฐ์ของจิ๋ว. และเป็นการแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ในอำเภอ บางเลน นครปฐม
More Stories
ชลบุรี-วัดหัวถนนทอดกฐินสามัคคีพุทธศาสนิกชน จากทั่วประเทศร่วมบุญอย่างล้นหลาม
กรมหม่อนไหม จัดงาน “ตรานกยูงพระราชทานฯ ครั้งที่ 18” ดันมาตรฐานไหมไทย สร้างชื่อ สร้างรายได้ให้ประเทศ
นนทบุรี-จังหวัดนนทบุรีร่วมกับ สำนักงานวัฒนธรรมฯ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน จัดงานวัฒนธรรมสองฝั่งเจ้าพระยา มหาเจษฎาบดินทร์ ภายใต้แนวคิด “วิถีน้ำ วิถีนนท์ ยลสายชล สองฝั่งเจ้าพระยา”